เทคนิคการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name) เพื่อเป็นสร้างแบนด์ให้ดัง ซึ่งมีความสำคัญ เป็นอันดับแรก
ทำเงินบนโลกไอทีสัปดาห์นี้ยังคงว่าด้วยเรื่องการลดต้นทุน หลายคนอาจจะงงว่าการตั้งชื่อโดเมนเนมจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร คำตอบคือหากชื่อโดเมนเว็บไซต์ของเราจำง่ายและเหมาะสม ก็จะทำให้เราประหยัดพลังเงินและพลังงานในการทำ SEO หรือการทำชื่อโดเมนเนมให้ติดอันดับผลการสืบค้นของเสิร์ชเอนจิ้นได้
บทความเรื่อง ลดรายจ่ายในธุรกิจไอที - เลือกชื่อโดเมนให้เหมาะกับธุรกิจ
ผมนั่งดูสถิติจำนวนผู้จดโดเมน .th ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสิ้นปีที่แล้วถึงปีนี้ ดูเหมือนว่ากระแสความตกต่ำทางเศรษฐกิจในประเทศจะส่งผลตรงข้ามกับธุรกิจออนไลน์ น่าจะเป็นไปได้ว่ามีการอพยพหนีกระแสลบจากธุรกิจออฟไลน์ เข้าสู่ธุรกิจออนไลน์ที่คงจะเป็นทางออกอีกทางหนึ่งเพื่อกู้สถานการณ์ตอนนี้
สาเหตุที่ธุรกิจออนไลน์พากันเจริญเติบโต อันเนื่องมาจากต้นทุนที่ต่ำกว่าธุรกิจแบบทั่วไปมาก ที่เห็นได้ชัดอย่างแรกเลยคือ ไม่ต้องไปหาเช่าอาคารพาณิชย์ 2 คูหาห้องมุม ติดย่านธุรกิจ เพื่อจะเปิดเป็นหน้าร้านหรือโชว์รูม ซึ่งราคาก็คงอยู่ที่หลายล้านบาท จนไปถึงหลายสิบล้านบาท สู้มาเปิดหน้าร้านออนไลน์ เสียค่าจดโดเมน ค่าเช่าโฮสต์ แถมด้วยค่าออกแบบเว็บไซต์แทนที่จะไปเสียค่าตกแต่งร้าน รวม ๆ แล้วน่าจะอยู่ในเกณฑ์หลักหมื่น หรือแสน ก็แล้วแต่ความหรูหราของเจ้าของร้าน แต่ที่แน่นอนลดต้นทุนแรกเริ่มลงไปได้โขทีเดียว
อันดับต่อไปคงเป็นเรื่องของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ร้านเราให้คนรู้จัก ตอนนี้เราไม่มีห้องหัวมุมในแหล่งชุมชน แต่เราก็ยังต้องการคนมาเดินผ่านหน้าร้านเราอยู่ดี เหล่านี้คงต้องพึ่ง Search Engine และการทำ SEO (Search Engine Optimization) เพื่อให้หน้าร้านเราเข้าไปอยู่ในอันดับต้น ๆ เพื่อให้คนผ่านตาและพร้อมที่คลิ้กเข้ามา แล้วแทนที่เราจะเอาแผ่นพับไปแจก เอาโปสเตอร์ไปติด ไปเช่าเวลาไม่กี่วินาทีในโทรทัศน์วิทยุ มาทำโฆษณา ซึ่งสนนราคาเป็นแสนกันเลยทีเดียว เราก็สร้างลิงค์ ติดแบนเนอร์ ตามเว็บไซต์ที่มีกลุ่มลูกค้าเราอยู่ ดูน่าจะเป็นวิธีที่ประหยัดกว่ามาก
ทีนี้หันมาดูทางด้านโดเมน เมื่อทำธุรกิจออนไลน์ โดเมนก็เปรียบเสมือนชื่อร้าน ชื่อร้านที่ลูกค้าเราจะจำเราได้ ซึ่งจะเป็นชื่อร้านที่เหล่า search engine เช่น Google หรือ Yahoo จะรู้จักเรา และดึงหน้าร้านของเราไปแสดงผ่านสายตาลูกค้า
การมีชื่อร้านที่เหมาะสมก็จะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระได้มากทีเดียว อย่างไรหรือครับ ขออธิบายอย่างนี้ครับ เมื่อชื่อเป็นที่เข้าใจได้ของผู้พบเห็น เช่นเกี่ยวกับสินค้าที่เราขาย ก็ง่ายต่อการจดจำของลูกค้า จากนั้นการจะสร้างแบรนด์จากชื่อโดเมนก็ไม่ใช่เรื่องยาก จะเอาชื่อโดเมนเราไปแปะไว้ตรงไหน ก็ง่ายที่คนจะจำได้ และลูกค้าก็ง่ายที่จะกลับมาใช้บริการเราอีก
ยิ่งไปกว่านั้นหากชื่อโดเมนเราง่ายต่อการเข้าใจของ search engine ด้วยแล้ว ก็จะทำให้เราประหยัดพลังในการทำ SEO ลงไปได้ด้วย ทีนี้ก็มาลองดูกันซิครับ ว่าเทคนิคและขั้นตอนที่จะช่วยในการเลือกโดเมนที่ผมเรียกว่า “เหมาะสม” มันควรจะมีอะไรบ้าง
1.เริ่มด้วยการมองธุรกิจตัวเองครับ ว่าเราขายอะไร แล้วเขียนคีย์เวิร์ดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องออกมาครับ รวมทั้งคำต่าง ๆ ที่จะอยู่ในเว็บไซต์ของเรา หรือแม้แต่คำหรือคีย์เวิร์ดที่อยู่ในเว็บไซต์อื่นที่ทำธุรกิจเดียวหรือใกล้เคียงกับเรา
2.จากนั้นเอาคำเหล่านั้นมาเลือก โดยให้คะแนนตามคุณสมบัติดังนี้ครับ
2.1สั้น
2.3ไม่งง
2.4พิมพ์ผิดยาก
2.5ตรงกับธุรกิจหลักของเรา
2.6ออกเสียงได้
2.7ความหมายในทางกว้าง หรือ เฉพาะเจาะจง เช่น เราทำเว็บเกี่ยวกับรถ ควรเลือกคำว่า CAR หรือหากเราจะทำเว็บรถฟอร์ด ก็ควรจะเลือกคำว่า FORD และอยากให้สังเกตนิดครับว่า คำที่ “สั้น” ไม่ใช่คำที่ “จำได้ง่าย” เสมอไป เช่นเราต้องการใช้คำว่า “This Name Is Good Oh My God” ลองพิจารณาดูครับว่าระหว่าง 2 โดเมนนี้ ใครจำง่ายกว่ากัน “tnigomg.in.th” กับ “ThisNameIsGoodOhMyGod.in.th” คุณจะเลือกอันไหน
3.เมื่อได้ชื่อแล้ว ก็เลือกดอท ว่าจดดอทอะไรดี .com หรือ .co.th หรือ .in.th หรือ อื่น ๆ
ไม่ว่าจะจดดอทอะไร เราก็สามารถมีลูกค้าได้ทั่วโลกเช่นเดียวกัน และเราอาจจะจดไว้มากกว่า 1 ดอท เพื่อดักความสับสนของผู้ใช้งานเอาไว้ การเลือกใช้ดอทท้องถิ่น เช่น .th ก็จะดีหากต้องการให้คนรู้ว่า เราเป็นธุรกิจไทย เนื่องจาก .th มีการตรวจสอบการมีตัวตนของเจ้าของโดเมน ซึ่งจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ด้วย
4.เข้าไปเช็คตามผู้ให้บริการของดอทนั้น ๆ ว่า ชื่อที่เราเลือกว่างอยู่หรือเปล่า ถ้าว่าก็จดเลยครับ อย่าช้าอยู่ แต่ถ้าไม่ว่าง ก็ให้ลองทำข้อต่อไปครับ
5.ให้เอาคำที่เลือกมาขยายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
5.1ใช้คำที่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน แต่เปลี่ยนรูป เช่น แปลงเป็น คำนาม, คำกริยา, คำวิเศษณ์ .... เช่น Fly, Flight, Flew, Flyer
5.3เติมคำนำหน้า เช่น The หรือ My
5.4เติมเครื่องหมายขีด “-“ ซึ่งเป็นอักขระพิเศษตัวเดียวที่สามารถอยู่ในโดเมนได้
ตรงนี้มีประเด็นอยู่นิดครับ คือ หากเรามุ่งเน้นให้คนจำชื่อเว็บเราได้และบอกต่อ ไม่ควรจะใส่ขีด เพราะคนส่วนใหญ่เวลาจดจำไปจะไม่ได้จำขีดไปด้วย ยิ่งกว่านั้น ถึงแม้จะจำได้ แต่เวลาบอกต่อไม่ได้บอกขีดไปด้วย ทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้ แต่ที่กลับกันคือ “ขีด” จะมีผลดีในการช่วยแบ่งคำเพื่อให้ search engine เข้าใจถูกต้องมากขึ้น
5.5เช่นเดียวกันกับข้างบนครับ เมื่อจะต้องเติม S ควรพิจารณาดี ๆ เพราะ S จะยากสำหรับการบอกต่อเช่นกัน
6.สิ่งที่ต้องระวังในการตั้งชื่อคือตัวอักษรที่จะสร้างความสับสนเช่น O (โอ) และ 0 (ศูนย์) หรือ l (แอล), 1 (หนึ่ง) และ I (ไอ)
ควรเลี่ยงตัวอักษรเหล่านี้ในบางตำแหน่งที่จะทำให้คนเข้าใจผิดได้ เช่น fun0.in.th แบบนี้จะทำให้ตัดสินใจยากว่า เป็นศูนย์หรือโอ
7.เมื่อได้คำใหม่แล้ว ก็ให้วนกลับไปทำตามข้อ 4 และทำไปเรื่อย ๆ หากชื่อที่ต้องการยังไม่ว่าง
ต้องจำไว้นิดครับว่า “คนจะไม่จำ เพียงเพราะเราอยากให้เขาจำ” ฉะนั้นคงต้องสละเวลาพอสมควรในการคิดค้นชื่อ เริ่มต้นดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งครับ นักธุรกิจหน้าใหม่ใช้ทุนต่ำ ๆ จะประสบความสำเร็จคงต้องลงทุนสมองเพื่อจะขึ้นมาอยู่ในชั้นแนวหน้าได้
สำหรับการตั้งชื่อออกเสียงเป็นภาษาไทย ต้องระวังการเขียนให้ง่ายที่สุด เช่น www.sanook.com หรือ www.kapook.com หากไม่มั่นใจว่าลูกค้าจะสะกดถูกต้องจดโดเมนเนมไว้หลายแบบและนำเข้าสู่เว็บไซต์เดียวกัน เช่น www.BaanThai.com , www.BanThai.com (บ้านไทย) เป็นต้น แม้แต่ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษแต่ออกเสียงคล้ายกัน ก็ต้องระวังการสะกด และจดโดเมนเนมไว้หลายแบบเช่นกัน เช่น www.ReadyPlanet.com และ www.LadyPlanet.com ก็จะเข้าสู่เว็บไซต์เดียวกันคือผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป
ไม่ copy เลียนแบบเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง เช่น ไม่ตั้งชื่อโดเมนเนมว่า www.AmazonThaiBook.com เพราะมีโอกาสโดนฟ้องร้องสูงมากเนื่องจากทำธุรกิจเดียวกับเว็บไซต์หลักคือ Amazon.com นอกจากนั้น ภาพลักษณ์ของโดเมนเนมที่เลียนแบบยังขาดความน่าเชื่อถือ
ไม่ยาวเกินไป หากชื่อยาวต้องจดจำง่าย เช่น www.OpenWorldThailand.com, www.GoodRateHotel.com , www.FlowerHandmade.com จะเห็นได้ว่า ชื่อเว็บไซต์แม้จะยาวแต่ประกอบด้วยคำภาษาอังกฤษที่จำง่ายเช่น Thailand , Handmade ซึ่งประกอบกันแล้วทำให้ชื่อยาว แต่เข้าใจง่าย อย่างไรก็ตามการประกอบกันยาวเกินไปก็ยังไม่นับว่าเป็นชื่อที่ดีนัก เช่น www.TheBestFlowerHandmadeInThailand.com ก็นับว่ายาวเกินไป
ระวังเรื่อง - (Hyphen) หรือการเติม S หากต้องการจดชื่อที่มี S หรือใช้สัญญลักษณ์ - ดังกล่าว ต้องพิจารณาว่า เว็บไซต์อื่นที่จดทะเบียนไปแล้วและไม่มีสัญลักษณ์ทำธุรกิจเดียวกันกับเราหรือไม่ ถ้าใช่ มีโอกาสเกิดความสับสนแก่ลูกค้า ทางออกที่ดีคือ จดโดเมนเนมทั้งที่มีและไม่มี s ไว้ด้วย เช่น www.ReadyPlanet.com และ www.ReadyPlanets.com ก็จะเข้าสู่เว็บไซต์เดียวกันคือผู้ให้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป ส่วนชื่อที่มี - หากไม่จำเป็นไม่ควรใช้ และต้องพิจารณาว่าเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อแบบไม่มี - ทำธุรกิจเดียวกับเราในประเทศของเราหรือไม่ ถ้าใช่ ยิ่งไม่ควรใช้ชือทีมี - อย่างยิ่ง
ชื่อแสดงความน่าเชื่อถือ ลูกค้าเว็บไซต์โดยเฉพาะด้านธุรกิจย่อมต้องการความน่าเชื่อถือก่อนจะตัดสินใจทำธุรกรรมต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น ไม่ตั้งชื่อที่แสดงความเป็นเล่น ๆ ยกเว้นเป็นเว็บ content หรือ social ที่ต้องการภาพลักษณ์ที่สบาย ๆ เช่น ระวังถ้าต้องการตั้งชื่อว่า AccountantKukKik.com (กุ๊กกิ๊ก) จะขัดกับภาพลักษณ์ที่ต้องการความจริงจังในการทำธุรกิจ
ตั้งชื่อที่ไม่มีความหมายได้ หากชื่อนั้นจดจำง่าย และเจ้าของเว็บไซต์มีการทำตลาดอย่างต่อเนื่องได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ต่างประเทศที่ชื่อไม่มีความหมายแต่ประสบความสำเร็จมีมากมาย เช่น www.google.com , www.ebay.com , www.yahoo.com เป็นต้น
นามสกุลของเว็บไซต์ แบ่งได้เป็นหลายกลุ่มคือ .com .net .org .biz .info .co.th .go.th .gov .tv .asia
เว็บไซต์แต่ละสกุลนั้นหมายถึงอะไร การที่มีหลายนามสกุลนั้น เพื่อบ่งบอกกิจกรรมของเว็บไซต์ ว่าเกี่ยวข้องกับอะไร ซึ่งบางทีอาจจะไม่สามารถบ่งบอกได้ชัดเจนนัก เนื่องจากบางนามสกุลไม่ได้มีข้อบังคับชัดเจน ว่าต้องใช้เพื่อกิจกรรมนั้น ๆ เพียงอย่างเดียว แต่โดยหลักทั่วไปของการเลือกนามสกุลต่าง ๆ สามารถแบ่งได้คร่าว ๆ ดังนี้
.com (.com = Commercial )ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า
.net (.net = Network) ใช้สำหรับเว็บไซต์ขององค์กรใด หรือบริษัทใด ที่ทำงานเกี่ยวกับเครือข่าย หรือ Network
.org (.org = Organization) ใช้สำหรับเว็บไซต์องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร เช่น สมาคม หรือมูลนิธิ
.biz (.biz = Business) ใช้สำหรับเว็บไซต์ขององค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า
.info (.info = Information) ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลเป็นหลัก
.edu (.edu = Education) ใช้สำหรับเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา
.gov (.gov = Government) ใช้สำหรับเว็บไซต์ของรัฐบาล
.mil (.mil = Military) ใช้สำหรับหน่วยงานทางทหาร
สำหรับโดเมนรหัสประเทศนั้น แสดงให้เห็นว่า โดเมนนั้นเปิดทำการในประเทศใด เช่น .uk คือเว็บไซต์ของประเทศอังกฤษ .jp คือเว็บไซต์ของประเทศญี่ปุ่น สำหรับของไทย ใช้ .th ซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมาก เช่น แบ่งกลุ่มเป็น .or.th , .ac.th , .co.th , .go.th , .in.th ฯลฯ รายละเอียดการจดโดเมนเนมที่ใช้นามสกุล .th ศึกษาได้จาก http://www.thnic.co.th/index.php?page=policy
การจดทะเบียนโดเมนเนมจะมีค่าบริการรายปี ขึ้นกับผู้ให้บริการ โดยประมาณอยู่ที่ 450 บาทต่อปี เมื่อจดทะเบียนแล้ว ผู้จดจะได้เป็นเจ้าของโดเมนเนมและสามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นภายหลังได้
- ในกรณีที่ไม่ต้องการมี domain name เป็นของตัวเอง สามารถใช้ sub domain name แทนได้ เช่น abc.domainservice.com
- ในกรณีนี้ เจ้าของ domain name คือ domainservice.com แต่เปิด sub domain name ให้กับเจ้าของเว็บไซต์ใช้ในชื่อ abc ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือ มักไม่เสียค่าบริการ เนื่องจากเจ้าของโดเมนเนม เปิดให้ใช้ฟรี แต่มีข้อเสียคือไม่ได้เป็นเจ้าของชื่ออย่างแท้จริง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของโดเมนเนมเจ้าของ ย้ายผู้ให้บริการเว็บไซต์ไม่ได้ ไม่สามารถนำเชื่อโดเมนเนมนี้ไปใช้กับผู้ให้บริการเว็บไซต์รายอื่น ชื่อจะถูกยกเลิก เมื่อโดเมนเนมจริงถูกยกเลิก sub domain มักอยู่รวมกันใน Server หนึ่ง ไม่มีการบริหาร bandwidth อาจเกิดปัญหากับเว็บไซต์ด้านความเร็วและเสถียรภาพ มีโอกาสติดอันดับใน search engine น้อยกว่า มี features และ พื้นที่ใช้งานน้อย ขึ้นกับเจ้าของ domainname ให้บริการอาจไม่รับผิดชอบคุณภาพการบริการ
ค้นหาผู้ให้บริการ จดโดเมนเนม ได้จากการ search คำว่า จดโดเมนเนม หรือคำใกล้เคียงกัน ใน Search Engine
ตั้งชื่อตาม Brand ถือว่าเป็นการตั้งชื่อที่สุดยอดที่สุดแล้ว (หากเว็บไซต์สามารถดังได้) เพราะการตั้งชื่อ Domain Name ประเภทนี้เป็นการตั้งชื่อที่ไม่ได้สื่อความหมายอะไรเลย เรียกได้ว่าตั้งตามใจฉัน มันเป็นการสร้าง Brand ขึ้นมาเอง ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าดัง ก็จะดังเป็นพรุแตก มีคนเข้าหลักล้าน แต่ถ้าตรงกันข้าม ก็อาจจะไม่ค่อยมีคนรู้จักเว็บไซต์ของเราเลยDomain Name ที่ตั้งลักษณะนี้ก็ได้แก่
google.com คนที่ใช้งานอินเตอร์เน็ต คงไม่มีใครไม่รู้จัก Domain Name ของยักษ์ใหญ่ Search Engine รายนี้แน่นอน ชื่อโดเมนเนมที่ไม่ได้มีความหมายอะไร (เพราะเป็นชื่อ Domain Name ที่จด Domain Name สะกดคำผิด จากคำว่า googol ซึ่งมีความหมายมาจาก 1 googol = 1.0 × 10 ยกกำลัง 100)
facebook.com จะแปลว่าหนังสื่อหน้า หรือหน้าหนังสือ ก็สุดแล้วแต่ แต่วันนี้ชื่อ Domain Name นี้กลายเป็น Social Network ที่ดังสุด ๆ ไปแล้ว (มีผู้ใช้บริการตั้งแต่ประธานาธิบดี ไปจนถึงพนักงานเสมียนบริษัท)
youtube.com หลอดของคุณ ? แต่ใครจะไปสนล่ะ ว่ามันจะมีความหมายอะไร เพราะ ใคร ๆ ก็รู้ จะดูคลิป ก็ต้องเข้าที่นี่เท่านั้นเอง
|
5.2เติมตัวเลขลงไปในคำ
2.2จำง่าย
โดย ภาคภูมิ ไตรพัฒน์ http://www.thnic.co.th